เกษตรกรรุ่นใหม่ สังเกต ทดลอง ปรับใช้ สูตรสำเร็จในการทำนา ผลลัพธ์ถูกใจ ผลผลิตมากกว่า 1.3 ตันต่อไร่

       ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีความเหมาะสมในการปลูกข้าว ปัจจุบันจังหวัดสุพรรณบุรีมีพื้นที่ปลูกข้าวรวมทั้งหมดประมาณ 1,204,170 ไร่ สามารถปลูกได้ทั้งข้าวนาปี และข้าวนาปรัง โดยพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูกได้แก่ ข้าวพันธุ์ กข41,กข43,กข49,กข61,กข85 และ สุพรรณบุรี1 สุพรรณบุรี2 และสุพรรณบุรี3 เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ข้าวที่ควรปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน หรือพื้นที่ที่เกษตรกรมีเวลาทำนาน้อยกว่าพื้นที่ปลูกข้าวอื่น
(ที่มา : กรมการข้าว) 

 

       วันนี้ขอพาทุกท่านไปรู้จักกับเกษตรกรรุ่นใหม่ ดีกรีปริญญาโท ที่นำความรู้มาปรับใช้ในการทำนาจนประสบความสำเร็จ อย่างคุณอุดมพร จอมพงษ์ แห่ง อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี โดยสามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตต่อไร่มากถึง 1.3 ตัน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับพื้นที่ข้างเคียงนั้นจะได้เพียง 800-900 กิโลกรัมเท่านั้น  


       นอกจากการทำนาแล้ว คุณอุดมพร ยังยึดหลักการทำเกษตรแบบกระจายความเสี่ยง นำรายได้จากการทำนามาต่อยอดด้วยการปลูกพืชไร่อย่างมันสำปะหลังและอ้อย สร้างผลกำไรต่อปีจำนวนไม่น้อย ซึ่งเจ้าตัวเผยว่า เบื้องหลังความสำเร็จทั้งหมดนั้นมาจากคติประจำใจคือ สังเกต ทดลอง ปรับใช้”  

 

       ตามไปดูแนวคิด-เคล็ดลับการปลูกข้าวของคุณอุดมพร กันว่าทำอย่างไรถึงได้ผลผลิตเต็มไร่ มีกำไรชัวร์ เด๊ะ เด๊ะ! 

พื้นที่นาข้าวกว่า 60 ไร่ ของคุณอุดมพร ต้นเขียวสมบูรณ์ แข็งแรง 

 

สูตรสำเร็จในการปลูกข้าว สังเกต ทดลอง ปรับใช้ ผสมผสานภูมิปัญญาดั้งเดิม 

 
       คุณอุดมพร เผยว่า หลังจากเรียนจบปริญญาโท ได้เริ่มทำงานที่บริษัทด้านการเกษตรอยู่ประมาณ 3 ปี จากนั้นได้กลับมาสานต่อการทำนาร่วมกับพ่อแม่ ที่ ต.สาลี อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี โดยเริ่มต้นจากการปลูกข้าวบนพื้นที่ 60 ไร่ เมื่อทำไปสักระยะก็เริ่มเห็นโอกาสการเพิ่มมูลค่าผลผลิต หันมาปลูกพันธุ์ข้าวขายร่วมด้วย จากนั้นก็ค่อยๆ ขยายพื้นที่ปลูกพืชไร่อย่างมันสำปะหลัง และอ้อย บนพื้นที่กว่า 84 ไร่  

 

       ในช่วงแรกของการทำเกษตร คุณอุดมพร เปรียบตนเองเป็น เด็กฝึกงาน ขณะที่พ่อ-แม่นั้นเป็นเหมือน ครู ผู้ถ่ายทอดความรู้ จนลูกศิษย์คนนี้เริ่มมีวิชา เริ่มรู้จักธรรมชาติของพืช ฝึกการสังเกต และกล้าที่จะประยุกต์ความรู้ของตนเองเข้ากับภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน จนพัฒนารูปแบบวิธีการเพาะปลูกให้ได้ผลดียิ่งขึ้น  

 

       “จากรุ่นพ่อแม่เป็นการทำตามความเชื่อ เช่น เคยใส่ปุ๋ยสูตรไหนมา ก็จะเชื่อว่าใส่แบบนั้นดีแล้ว ใส่ไปทั้งที่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องธาตุอาหาร พอมาถึงรุ่นผม ผมเริ่มนำความรู้เกี่ยวกับธาตุอาหารมาประยุกต์ใช้ ว่าพืชในแต่ละช่วงมีความต้องการธาตุอาหารที่แตกต่างกัน รวมไปถึงขั้นตอนการเตรียมแปลง และการเตรียมเมล็ดพันธุ์ ที่มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็คือ ในการทำนาข้าวของคนรุ่นพ่อแม่จะหว่านเมล็ดข้าวงอก ที่มีรากยาวๆ ถึงจะนำมาหว่าน แต่สมัยใหม่เราคิดว่าเรามาทำให้งอกในน้ำได้ไหม ข้าวจะได้ไม่สูญเสียความชื้น ก็ได้ทดลองทำวิธีของตัวเองมาปีนี้เข้าสู่ปีที่ 2 ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ เพิ่มขึ้นจาก 900 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 1,300 กิโลกรัมต่อไร่คุณอุดมพร เล่าประสบการณ์ในอดีตให้ฟัง

ข้าวแตกกอดี ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้น 

 

ใส่ใจทุกขั้นตอนการปลูก ผลผลิตคุ้มค่า ข้าวเต็มรวง น้ำหนักดี เป็นที่ต้องการของตลาด  

 

       หลักการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตดี เริ่มต้นจากการเลือกปลูกพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับพื้นที่ สภาพอากาศ และช่วงฤดูกาล เนื่องจากปัจจัยทั้งหมดนั้นส่งผลต่อการเจริญเติบโตของข้าวโดยตรง และความทนทานต่อโรคในข้าว ซึ่งคุณอุดมพร นั้นจะเลือกปลูกทั้ง ข้าวพันธุ์เบา และพันธุ์หนักสลับหมุนเวียนกัน เพื่อให้สามารถปลูกข้าวได้หลายรอบต่อปี  

 

       โดยข้าวพันธุ์เบา คือข้าวที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 90-100 วัน ได้แก่ ข้าวพันธุ์ กข41,กข61 และ กข85 เพาะปลูกระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม (นาปีส่วน ข้าวพันธุ์หนัก นั้นมีอายุเก็บเกี่ยวมากกว่า 120 วัน เช่น ข้าวพันธุ์หอมปทุม เริ่มปลูกตั้งแต่เดือนมกราคม (นาปรัง) (ที่มา : กรมการข้าว) 

 

       เมื่อถามถึงวิธีการเพาะปลูกข้าวสไตล์เกษตรนักทดลอง คุณอุดมพร เผยว่า เทคนิคการปลูกข้าวของตนนั้นมีความพิถีพิถันใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิต เริ่มตั้งแต่การเตรียมแปลง จะให้ได้ผลดีนั้น จะต้องปรับพื้นที่นาให้สม่ำเสมอและสามารถควบคุมน้ำได้ โดยเริ่มจากการไถพรวน เพื่อเป็นการพลิกดิน แล้วปล่อยน้ำเข้า พอให้ดินชุ่มอยู่ประมาณ 5-10 วัน ต่อด้วยการไถคราด ทำเทือก เป็นการปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ พร้อมที่จะหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว   

 

       ถัดมาคือขั้นตอนการเตรียมเมล็ดพันธุ์เนื่องจากพันธุ์ข้าวนั้นถือเป็นหัวใจในการเพาะปลูก หากมีการเตรียมการที่ดีด้วย จะยิ่งช่วยให้ข้าวมีอัตรางอกสูงและเจริญเติบโตได้ไว 

 

       “เทคนิคการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวของผมอาจจะแตกต่างไปจากของคนอื่น คือเริ่มต้นจากการนำเอาพันธุ์ข้าวที่จะปลูกมาแช่น้ำไว้ 1 คืน จากนั้นนำเมล็ดข้าวขึ้นมาวางบนพื้นที่น้ำไม่ขัง และมีการถ่ายเทอากาศดี แล้วรดน้ำเพื่อรักษาความชุ่มชื้นและลดความเปรี้ยว เมล็ดข้าวจะเริ่มมีรากสีขาวงอกออกมาเล็กน้อย หรือที่เรียกกันว่า ตุ่มตาเมื่อนำไปหว่าน ข้าวจะจมลงเลนทันที ทำให้ข้าวงอกสม่ำเสมอ ลดความเสียหายของพันธุ์ข้าวได้ ซึ่งวิธีนี้ผมทดลองทำมา 2 ปี ได้ผลผลิตข้าวมากขึ้นอย่างต่อเนื่องคุณอุดมพร เผยถึงเทคนิคการเตรียมพันธุ์ข้าว 

เทคนิคการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว หัวใจสำคัญในการเพาะปลูก 

 

 

ขั้นตอนการบำรุงธาตุอาหารสำคัญมาก เลือกใช้ปุ๋ยดี ได้ผลผลิตชัวร์  

 

       ข้าวแต่ละช่วงต้องการธาตุอาหารแตกต่างกัน ดังนั้นการบำรุงธาตุอาหารให้ตรงตามการเจริญเติบโตและความต้องการ จะช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตได้เป็นอย่างดี ในทางกลับกัน หากพลาดการบำรุงในช่วงเวลาสำคัญไป ก็จะทำให้ได้ผลผลิตต่ำ ทั้งยังเป็นการสิ้นเปลือง เนื่องจากบำรุงได้ไม่ตรงจุด 

 

       คุณอุดมพร เผยว่า เริ่มต้นของการบำรุงนั้น จะต้องเน้นให้ข้าว แตกกอดีเพราะยิ่งต้นข้าวมีจำนวนต้นที่มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีแนวโน้มทำให้ปริมาณผลผลิตมากขึ้นตามไปด้วย 

ระยะตั้งท้อง ใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 15-15-15  
ผสมกับปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 46-0-0 ช่วยให้ต้นข้าวสมบูรณ์ เจริญเติบโตได้ดี 

 

       เริ่มต้นจากการบำรุงครั้งที่1 ช่วงแตกกอ (ข้าวได้อายุ 20-22 วัน) คุณอุดมพร จะบำรุงด้วยปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 46-0-0 ปริมาณ 25 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วยให้ข้าวแตกกอได้ดี เมื่อข้าวแตกกอดี ส่งผลให้รวงข้าวเยอะขึ้น 

 

       บำรุงครั้งที่2 ข้าวระยะตั้งท้อง (อายุ 40-45 วัน) ใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 15-15-15 ผสมกับปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 46-0-0 (อัตราส่วน 2:1) ปริมาณ 25 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วยให้ต้นข้าวสมบูรณ์ เจริญเติบโตได้ดี  เมล็ดข้าวเต็มท้อง พร้อมออกรวงใหญ่ 

 

       บำรุงครั้งที่3 ระยะรับรวง (ข้าวอายุ 70-75 วัน) ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ร่วมกับ ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 0-0-60 (อัตราส่วน 1:1) ปริมาณ 10 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วยให้ข้าวออกสุดรวง เพิ่มแป้งและน้ำหนักได้ดี 

 

       คุณอุดมพร เผยว่า เท่าที่เราทราบกันคือปุ๋ยที่เน้นตัวท้ายสูง คือ โปรแทสเซียม (K) ชาวสวนจะนิยมใช้บำรุงไม้ผล เพื่อช่วยสร้างเนื้อ เพื่อให้น้ำหนักดี สร้างแป้ง เร่งความหวาน ผมก็เลยเอาหลักการนี้มาประยุกต์ใช้กับข้าวบ้าง เพราะมีหลักการคล้ายๆ กัน  คือข้าวนั้นก็มีน้ำตาล ต้องการแป้ง และต้องการน้ำหนักเหมือนกัน หลังจากทดลองใช้ดูแล้วก็เห็นผลว่า ปริมาณผลผลิตข้าวต่อไร่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดครับ”  

 

       หลังจากปลูกข้าวจนได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ คุณอุดมพร จึงเริ่มต่อยอดขยายพื้นที่ทำเกษตรเพิ่มเติม โดยเลือกปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง เนื่องจากเป็นพืชไร่ที่สามารถปลูกได้โดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก 

เคล็ดลับบำรุงพืชไร่ ให้ได้ผลผลิตชัวร์ อยู่ที่การดูแลที่ตรงจุด

 

เคล็ดลับบำรุงพืชไร่  ให้ได้ผลผลิตชัวร์ อยู่ที่การบำรุงที่ตรงจุด 

 

       “พืชไร่เป็นพืชที่ทนความแห้งแล้งสูง ไม่ต้องการความพิถีพิถันในการปลูกและการดูแลรักษาเท่ากับไม้ผล บางกรณีเกษตรกรอาจปลูกทิ้งไว้เฉยๆ จนเรียกกันติดปากว่าฝากเทวดาเลี้ยงคือ มีการบำรุงเพียงเล็กน้อย อาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ และรอเก็บเกี่ยวผลผลผลิตได้เลย 

 

       แต่คุณอุดมพร กลับไม่ได้คิดเช่นนั้น หลังจากมีประสบการจากการณ์ปลูกข้าว ทำให้ได้แนวคิดว่า หากมีการใส่ใจตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูก รวมถึงการบำรุงที่ดีพอ จะช่วยให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน  

 

       สำหรับการปลูก มันสำปะหลังคุณอุดมพร จะใส่ใจตั้งแต่การเตรียมดิน เนื่องจากหากดินร่วนซุย จะทำให้มันสำปะหลังลงหัวได้ดี หัวมันสมบูรณ์ ขยายใหญ่ได้ดี โดยคุณอุดมพร จะใช้รถไถพรวนตีดินจนแหลก และกำจัดวัชพืชไปในตัว จากนั้นจะใส่ปุ๋ยขี้ไก่แกลบ ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ ปรับปรุงโครงสร้างให้ดินให้ร่วนซุย สามารถอุ้มน้ำได้ดีขึ้น 

 

       หลังจากลงปลูกได้ 1 เดือน คุณอุดมพร เลือกใช้ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-8-8 ปริมาณ 30 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วยบำรุงระบบรากให้ดี และช่วยสร้างใบสมบูรณ์ต้นแข็งแรง  

 

       และในระยะรากกระชาย (อายุ3-4 เดือน) เป็นช่วงที่มันสร้างหัวและสร้างแป้งเป็นช่วงที่สำคัญมาก คุณอุดมพร จะบำรุงด้วยปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-8-8 ร่วมกับ ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 0-0-60 (อัตราส่วน 1:2) ปริมาณ 30 กิโลกรัมต่อไร่ 

 

       ทั้งนี้ คุณอุดมพร เน้นว่า การบำรุงมันสำปะหลัง ช่วงสำคัญนั้นไม่ได้อยู่ที่เฉพาะช่วงที่มันฯ ลงหัวแล้วเท่านั้น เพราะทุกช่วงการเจริญเติบโตล้วนส่งผลถึงกันหมด  

 

       “การปลูกมันฯ นั้นเราเก็บผลผลิตที่หัวใต้ดินก็จริงครับ แต่เราต้องมีการปูพื้นฐานตั้งแต่การบำรุงลำต้น ราก และใบด้วย เพราะใบที่เขียวสมบูรณ์ก็จะช่วยให้มันฯ สังเคราะห์แสงดี สะสมอาหารได้ดี ทำให้เมื่อมันลงหัวไปแล้วมีน้ำหนักที่ดีเช่นกันครับคุณอุดมพร กล่าวถึงความสำคัญของการบำรุงมันสำปะหลัง 

ระยะพัฒนาทรงพุ่ม ถึงเริ่มลงหัว คุณอุดมพร บำรุงด้วยปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-8-8
เพื่อบำรุงทั้งใบลำลำต้น จะทำให้การสร้างอาหารของพืชดีขึ้น ช่วยให้มันหัวใหญ่
 

  

       ถัดมาในส่วนของ อ้อย หลังจากลงปลูกแล้ว หรืออ้อยตอ หากเริ่มมีฝนแล้วคุณอุดมพร จะเริ่มใส่ปุ๋ยแต่งหน้าด้วยปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 46-0-0 ปริมาณ 50 กิโลกรัมต่อไร่ เพราะต้องการเน้นไนโตรเจนสูง (N) เพื่อบำรุงอ้อยและช่วยให้อ้อยแตกกอได้ดี 

       

       โดยช่วงสำคัญนั้นคือ ช่วงที่อ้อยอายุ 5 เดือน จะบำรุงด้วยปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-8-8 ร่วมกับ ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 0-0-60 (อัตราส่วน 1:2 ) ปริมาณ 50 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วยให้อ้อยลำใหญ่ ค่าซีซีเอสสูง (C.C.S) ขายได้ราคาดี 

บำรุงธาตุอาหารถูกจังหวะ อ้อยลำใหญ่ ค่าซีซีเอสสูง 

 

       “การปลูกพืชไร่ ที่ใครคิดว่าปลูกแบบปล่อยทิ้งก็ได้ พอได้มาทำเองแล้วก็รู้ว่า หากเราปลูกแบบใส่ใจ มีการบำรุงที่เหมาะสม ก็สามารถให้ผลผลิตที่ดี สร้างรายได้ดีเช่นกัน ซึ่งในการบำรุงนั้นผมก็ใช้ปุ๋ยตรากระต่ายเหมือนเดิมครับ เพราะเรามีการพิสูจน์จากข้าวมาแล้วว่าของเขาดีจริง ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าพอใจ ใช้แล้วคุ้มค่า การเลือกใช้ปุ๋ยที่ดีมีคุณภาพ ก็ยิ่งช่วยเสริมความมั่นใจว่าผลผลิตในครั้งนี้จะเป็นไปตามที่คาดไว้เด๊ะๆ ครับคุณอุดมพร กล่าวถึงความประทับใจปุ๋ยกระต่าย 

  

ปรับตัว-ต่อยอด ใช้เทคโนโลยี ลดต้นทุนการผลิต  

 

       นอกจากความพิถีพิถันใส่ใจทุกขั้นตอนในการเพาะปลูกแล้ว คุณอุดมพร ยังให้ความสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยีการเกษตรไม่แพ้กัน โดยเล่าให้ฟังว่า รูปแบบการทำเกษตรที่แปลงตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย ล้วนนำเทคโนโลยีทางการเกษตรอย่างโดรนเข้ามาใช้พ่นทั้งปุ๋ยและสารควบคุมวัชพืชทั้งสิ้น สามารถช่วยประหยัดแรงงาน เวลา ควบคุมปริมาณการใช้ได้เหมาะสม ทำให้การใช้สารต่างๆ อยู่ในปริมาณพอดี และมีประสิทธิภาพ   

 

       “จากเมื่อก่อนที่เราทำเกษตรบนพื้นที่ 140 ไร่นั้น ใช้แรงงานคนในการหว่านปุ๋ยและฉีดสารควบคุมวัชพืช ประมาณ 6 คน แต่ตอนนี้แรงงานก็เริ่มหายากและมีราคาสูงขึ้น เราเลยตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้โดรนแทน ทำให้ช่วยลดแรงงานลงเหลือ 2 คนเท่านั้น ที่สำคัญเวลาทำงานก็ลดลงด้วย อีกทั้งเมื่อก่อน ต้องใช้เวลาในการหว่านปุ๋ย 2-3 วัน พอใช้โดรนก็จบงานภายในวันเดียว ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาวครับคุณอุดมพร กล่าวทิ้งท้าย 

 

       จากเรื่องราว เกษตรกรมือใหม่ของคุณอุดมพร ทำให้รู้ว่าหนทางการเริ่มต้นการทำเกษตรนั้นต้องอาศัยการเรียนรู้ มีความช่างสังเกต มีการบำรุงอย่างตรงจุดและถูกช่วงเวลา จะช่วยให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน และหากมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย ก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ดีขึ้น สามารถต่อยอดเส้นทางเกษตรกรได้อย่างมั่นคงได้

ทำเกษตรอย่างสมาร์ท สไตล์เกษตรกรรุ่นใหม่ อุดมพร จอมพงษ์ 

 

 

สามารถติดตามสาระเกษตรน่ารู้ ได้ที่  

คลิก “เคล็ดลับปลูกข้าวให้รวงใหญ่” 

ติดตามข่าวสารอื่นๆ ข้อมูลสินค้า และข่าวสารจากปุ๋ยตรากระต่าย เพิ่มเติมได้ที่ 

Facebook: www.facebook.com/puitrakratai/ 

YouTube: www.youtube.com/c/Puitrakratai 

TikTok: https://www.tiktok.com/@puitrakratai 

ข้อมูลสินค้าปุ๋ยตรากระต่าย : https://www.chiataigroup.com/business/fertilizer/Puitrakratai-Rice-Fields